ประวัติการจัดตั้งวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่ จัดตั้งขึ้นตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2520 ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนเกษตรกรรมแพร่” สังกัดกองโรงเรียน กรมอาชีวศึกษาเพื่อที่จะขยายการอาชีวศึกษาให้กว้างขวางและสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520-2524 โดยเป็น 1 ใน 10 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเกษตรกรรมแพร่ โรงเรียนเกษตรกรรมพิจิตร โรงเรียนเกษตรกรรมกำแพงเพชร โรงเรียนเกษตรกรรมสุพรรณบุรี โรงเรียนเกษตรกรรมยโสธร โรงเรียนเกษตรกรรมอุบลราชธานี โรงเรียนเกษตรกรรมร้อยเอ็ด โรงเรียนเกษตรกรรมสุโขทัย โรงเรียนเกษตรกรรมลำพูน และโรงเรียนเกษตรกรรมพังงา
เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยมีการปรับเปลี่ยนฐานะ ดังนี้
20 กุมภาพันธ์ 2520 เริ่มก่อตั้งเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมแพร่
28 กันยายน 2524 ยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมแพร่
12 กันยายน 2537 ทำหน้าที่วิทยาลัยชุมชนเวียงโกศัย
20 พฤศจิกายน 2539 เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่
ขนาดและที่ตั้ง
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่ ตั้งอยู่เลขที่ 586 หมู่ 8 ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่ ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 111-112 ถนนศรีสัชนาลัย-เด่นชัย มีเนื้อที่ 516 ไร่ ห่างจากอำเภอเด่นชัย ประมาณ 5 กิโลเมตร และห่างจาก ตัวจังหวัด ประมาณ 25 กิโลเมตร สภาพการเดินทางสะดวกทั้งทางรถยนต์ และรถไฟสภาพพื้นที่เป็นเนินเขาสลับพื้นที่ราบ มีลำห้วยแม่พวกไหลผ่านกลาง พื้นที่มีลักษณะเป็นดินเหนียว และดินร่วนปนทรายบางส่วนเป็นลูกรัง ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้สักอนุรักษ์ อาณาบริเวณเขตติดต่อ โดยรอบวิทยาลัย มีดังนี้
ทิศเหนือ ติดถนนสายหลักเด่นชัย-กรุงเทพฯ
ทิศใต้ สวนเกษตรกร สวนไม้สักอนุรักษ์ และทางรถไฟสายเหนือ(เชียงใหม่ –กรุงเทพ)
ทิศตะวันออก ติดสำนักงานขนส่ง สวนเกษตรกรและชุมชน
ทิศตะวันตก ติดสวนป่าอนุรักษ์และถนนสายเด่นชัย - ศรีสัชนาลัย
การติดต่อสื่อสาร
- โทรศัพท์สำนักงาน 054-613313 , 054-613937
- โทรสาร 054-613340
- อีเมล์ kasetphrae@hotmail.com
- เว็บไซต์ www.pcat.ac.th
หลักสูตรที่เปิดสอน
ปัจจุบันวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่ได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดังนี้
1. การจัดการศึกษาในระบบ เปิดสอน 2 ระดับ คือ
- ระดับชั้น ปวช. (ประกาศนียบัตรวิชาชีพ)
1.สาขางานเกษตรศาสตร์
2.สาขางานการผลิตพืช
3.สาขางานการผลิตสัตว์
4.สาขางานอุตสาหกรรมเกษตร
5.สาขางานช่างเกษตร
- ระดับชั้น ปวส. (ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง)
1.สาขางานการเกษตร
2.สาขางานการผลิตพืชอาหาร ปลอดภัย
3.สาขางานการผลิตสัตว์
4.สาขางานช่างกลเกษตร
5.สาขางานอุตสาหกรรมเกษตร
6.สาขางานเกษตรป่าไม้ การศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส
- ระดับชั้น ปวช. (ประกาศนียบัตรวิชาชีพ)
1.สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (ผู้ด้อยโอกาสในเรือนจํา)
- ระดับชั้น ปวส. (ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง)
1.สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (ผู้ด้อยโอกาสในเรือนจํา)
2. การจัดการศึกษานอกระบบ/การศึกษาตามอัธยาศัย คือ การฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น
การฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้น
1. การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
2. การเกษตรผสมผสาน
3. การแปรรูปผลิตภัณฑ์พืช
4. การแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์
5. การเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์
6. การเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์
7. ช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็กในฟาร์ม
8. ช่างเชื่อมโลหะ
9. การเพาะเห็ดนางฟ้าในถุงพลาสติก
ปรัชญาสถานศึกษา
สร้างผู้เรียนสู่ความเป็นผู้นำทางด้านทักษะวิชาชีพเกษตรกรรม ผลิตอาหารปลอดภัย และเป็นศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช
วิสัยทัศน์
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่ เป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษา ด้านอาชีวเกษตรและเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของชุมชนและตลาดแรงงาน ส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม ให้บริการวิชำชีพเกษตรกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นด้านเกษตรปลอดภัย ยึดหลักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่น
พันธกิจ
ให้บริการวิชาชีพด้านเกษตรกรรม เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช
ยุทธศาสตร์
1. ยกระดับการศึกษาด้านอาชีวเกษตรและเทคโนโลยี ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
2. เพิ่มและกระจายโอกาสในกำรบริกำรวิชำชีพเกษตรกรรม
3. เป็นศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช
เป้าประสงค์
1. ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษาเกษตรมีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ
2. บริการวิชาชีพเกษตรกรรม ให้ประชาชนทุกกลุ่มอย่างทั่วถึง
3. บริการความรู้ในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
อัตลักษณ์
เป็นคนดี มีจิตอาสา สืบสานอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
เอกลักษณ์
แหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรปลอดภัย และการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
|