ชื่องานวิจัย การศึกษาประสิทธิภาพของ น้ำหมักปุ๋ยชีวภาพจากมูลไส้เดือนแต่ละสูตร ต่อการ
เจริญเติบโตของผักคะน้า
ชื่อผู้ศึกษาวิจัย 1. นายอภิลักษณ์ ถมยา
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย 1. นางอรอน นวลอินทร์
2. นางสาวสาวิตรี พาดี
ชื่อสถานศึกษา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่
ปีการศึกษา 2557
บทคัดย่อ
ในการวิจัยเรื่อง การศึกษาประสิทธิภาพของ น้ำหมักปุ๋ยชีวภาพจากมูลไส้เดือนแต่ละสูตร ต่อการเจริญเติบโตของผักคะน้า มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักปุ๋ยชีวภาพจากมูลไส้เดือนแต่ละสูตร
ต่อการเจริญเติบโตของผักคะน้า 2)
เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเกษตรชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และกลุ่มโรงเรียนบ้านเหล่า (รัฐราษฎร์บำรุง) ต่อการทดลองใช้น้ำหมักปุ๋ยชีวภาพจากมูลไส้เดือน 3) เพื่อพัฒนาส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ให้สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ตารางสำเร็จของ Krejcie และ Morgan ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 95 คน
โดยกำหนด ในการกรอกแบบสอบถาม แล้วใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก (convenience
sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ทำการวิจัยถึงประสิทธิภาพของน้ำหมักปุ๋ยชีวภาพจากมูลไส้เดือนแต่ละสูตรโดยมีขั้นตอนในการวิจัย
ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1
เปรียบเทียบประสิทธิภาพของน้ำหมักปุ๋ยชีวภาพจากมูลไส้เดือนแต่ละสูตร ต่อการเจริญเติบโตของผักคะน้า ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเกษตรชีววิถี
และกลุ่มโรงเรียนบ้านเหล่า (รัฐราษฎร์บำรุง) ต่อการทดลองใช้น้ำหมักปุ๋ยชีวภาพจากมูลไส้เดือน โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอนดังนี้ 1) สอบถามเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) สอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของกลุ่มเกษตรชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และกลุ่มโรงเรียนบ้านเหล่า (รัฐราษฎร์บำรุง) ที่ทดลองใช้น้ำหมักปุ๋ยชีวภาพจากมูลไส้เดือน 3) สอบถามเกี่ยวกับปัญหา
อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการทดลองใช้น้ำหมักปุ๋ยชีวภาพจากมูลไส้เดือน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1.
ด้านประสิทธิภาพของน้ำหมักปุ๋ยชีวภาพจากมูลไส้เดือนแต่ละสูตร ต่อการเจริญเติบโตของผักคะน้าพบว่า น้ำหมักปุ๋ยชีวภาพจากมูลไส้เดือน สูตรที่ 2 มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช
2. ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้น้ำหมักปุ๋ยชีวภาพจากมูลไส้เดือน พบว่า ในภาพรวมมี
ค่าเฉลี่ย ( =4.27) ซึ่งความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดในด้านด้านการพัฒนาและส่งเสริมการประกอบอาชีพ ของน้ำหมักปุ๋ยชีวภาพจากมูลไส้เดือน ค่าเฉลี่ย
( = 4.35) รองลงมาคือ ด้านประสิทธิภาพของน้ำหมักปุ๋ยชีวภาพจากมูลไส้เดือน ค่าเฉลี่ย
( =4.30) และด้านการพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ ค่าเฉลี่ย ( =4.16) ตามลำดับ |