 |
ข้อมูลสถานศึกษา |
 |
ข้อมูลสถานศึกษา
|
ปรัชญาของวิทยาลัยฯ
“ทักษะนำ คุณธรรมเด่น เน้นให้บริการวิชาชีพ”
วิสัยทัศน์ของวิทยาลัย
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่ เป็นสถานศึกษาที่มุ่งผลิตและพัฒนานักเกษตรสร้างสรรค์ จัดการศึกษาด้านอาชีพเกษตรกรรมที่มีสมรรถนะสูง ก้าวทันเทคโนโลยี พัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ
อัตลักษณ์ของวิทยาลัยฯ
“เป็นคนดี มีคุณธรรม นำวิชาชีพสู่สังคม”
“
เอกลักษณ์ของวิทยาลัยฯ
“แหล่งเรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร”
|
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานศึกษา
|
พันธกิจ ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ของวิทยาลัยฯ
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่ กำหนดพันธกิจเพื่อให้บรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ ดังนี้
พันธกิจที่ 1 ผลิตและพัฒนาผู้เรียนสายอาชีพเกษตรกรรม ให้เป็นกำลังคนที่มีคุณภาพและสมรรถนะสูง ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง
กลยุทธ์ที่ 1 ผลิตและพัฒนาผู้เรียนสายอาชีพเกษตรกรรมให้มีสมรรถนะด้านอาชีพเกษตรกรรมที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ผู้ประกอบการ รวมทั้งมีสมรรถนะตรงตามคุณวุฒิวิชาชีพ นำไปสู่การพัฒนาและยกระดับกำลังคนให้เท่าทันกับความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
- จำนวนหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนา
- ความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อทักษะของผู้เรียน
- เพิ่มร้อยละของผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาที่ได้ทำงานตรงกับสายอาชีพ
- ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาที่ได้รับคุณวุฒิวิชาชีพ
แนวทางพัฒนา
- สำรวจและวิเคราะห์ความต้องการแรงงานจากภาคธุรกิจเกษตร
- พัฒนาหลักสูตรที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ
- จัดการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับทักษะและสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมและขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสายอาชีพเกษตรกรรมให้มีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศทางวิชาชีพ
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
- จำนวนผู้เรียนที่ได้รับรางวัลหรือประกาศนียบัตรในงานประชุมวิชาการ (อกท.) และนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์/งานวิจัยและผลงานชมรมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน
- ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
- จำนวนโครงการวิจัย/นวัตกรรมที่เกิดจากผู้เรียน (1 ผู้เรียน 1 นวัตกรรม )
แนวทางพัฒนา
- ส่งเสริมการประกวดนวัตกรรมและผลงานทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร เช่น การแข่งขันในระดับท้องถิ่น/ระดับประเทศ
- จัดฝึกอบรมเพิ่มทักษะที่เกี่ยวข้องกับอาชีพเกษตรกรรม (Up Skill Re-Skill) เช่น การใช้เทคโนโลยีในเกษตร
- ส่งเสริมการทำวิจัยและโครงการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร
พันธกิจที่ 2 เพิ่มโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงระบบการเรียนรู้วิชาชีพ ด้วยรูปแบบ วิธีการ โดยนำหลักปรัชญาของเศษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตและการศึกษา สร้างผู้เรียนให้มีจิตสำนึกดี จิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคม และเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างมีความสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ขยายโอกาสทางการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ
กลยุทธ์ที่ 1 เพิ่มโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมในการศึกษาของผู้เรียนสายอาชีพเกษตรกรรม ผู้เรียนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพอย่างทั่วถึง เสมอภาคและมีคุณภาพ
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
- ร้อยละของผู้เรียนที่ได้รับทุนการศึกษา
- จำนวนผู้เรียนจากกลุ่มเปราะบางที่เข้าเรียนได้
- ร้อยละของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา
- จำนวนผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมด้านการขยายโอกาสทางการอาชีวศึกษา และวิชาชีพ
แนวทางพัฒนา
- สร้างโอกาสให้กับผู้เรียนที่มีพื้นฐานหลากหลาย (ชนบท, กลุ่มเสี่ยง)
- ขยายการเข้าถึงการศึกษาโดยการเปิดโอกาสให้เรียนฟรี/ทุนการศึกษา
- จัดอบรมหรือเวิร์คช็อปเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาทั่วถึง
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาผู้เรียนสายอาชีพเกษตรกรรม โดยนำหลักปรัชญาของเศษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตและการศึกษา สร้างผู้เรียนให้มีจิตสำนึกดี จิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคม และเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างมีความสุข
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
- จำนวนกิจกรรมที่จัดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
- จำนวนโครงการจิตอาสาที่ผู้เรียนเข้าร่วม
- คะแนนความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการเรียนรู้ในชีวิตจริง
แนวทางพัฒนา
- จัดกิจกรรมเรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง เช่น โครงการการเกษตรแบบพอเพียง
- ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคม เช่น กิจกรรมจิตอาสา
- สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา
พันธกิจที่ 3 พัฒนาระบบงานฟาร์มสู่ฟาร์มอัจฉริยะ เสริมสร้างและขยายภาคีเครือข่ายความร่วมมือ และยกระดับคุณภาพ ให้เป็นไปตามมาตรฐานงานฟาร์มสู่ความเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา ส่งเสริมการใช้
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้เรียนให้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมในกระบวนการผลิตทางการเกษตร ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและตลาดแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
- จำนวนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Smart Farm และเทคโนโลยีดิจิทัล
- จำนวนผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม
- ร้อยละของผู้เรียนที่ใช้เทคโนโลยีในการทำโครงงาน
แนวทางพัฒนา
- จัดอบรมและบูรณาการเทคโนโลยี IoT, AI, Drone, Sensor ในแผนการเรียนการสอน
- พัฒนาแปลงทดลองหรือฟาร์มสาธิตแบบ Smart Farm ภายในวิทยาลัย
- ส่งเสริมการเข้าร่วมงานนิทรรศการ/สัมมนาด้านเทคโนโลยีเกษตร
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้เรียนสายอาชีพเกษตรกรรมให้มีคุณภาพ มีจิตสำนึกดี รวมทั้งเสริมสร้างเครือข่ายกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย ภาคเอกชน และสถานประกอบการด้าน Smart Farm
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
- จำนวนความร่วมมือที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานภายนอก
- จำนวนผู้เรียนที่ได้ไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพใน Smart Farm
- ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
แนวทางพัฒนา
- สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคเอกชน/มหาวิทยาลัย/หน่วยงานวิจัย
- จัดโครงการฝึกงาน/ดูงานในสถานประกอบการ Smart Farm
- ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจิตอาสาและคุณธรรมในการประกอบอาชีพ
พันธกิจที่ 4 พัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ให้มีความทันสมัย ส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้สู่ผู้เรียนเชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพ และเทคโนโลยีด้านเกษตรกรรมในปัจจุบัน ที่ตรงกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
- จำนวนหลักสูตรที่ได้รับการปรับปรุง
- ความสอดคล้องของหลักสูตรกับ TPQI
- ความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อผู้เรียน
แนวทางพัฒนา
- นำกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI) มาวิเคราะห์และปรับปรุงหลักสูตร
- เชิญผู้เชี่ยวชาญและสถานประกอบการร่วมให้ข้อเสนอแนะ
- ปรับแผนการเรียนให้รองรับทักษะใหม่ ๆ เช่น Smart Farming, Automation
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และเชื่อมโยงกับสมรรถนะอาชีพ พัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล และเทคโนโลยีสนับสนุนการสอน
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
- จำนวนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ Active Learning
- จำนวนสื่อดิจิทัล/บทเรียนออนไลน์ที่พัฒนา
- ผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจของผู้เรียน
แนวทางพัฒนา
- ส่งเสริม Active Learning, Problem-based Learning (PBL), Project-based Learning
- จัดอบรมและพัฒนาสื่อดิจิทัล เช่น E-learning, VDO สื่อ AR/VR
- ประเมินผลแบบอิงสมรรถนะจากกิจกรรมจริง
พันธกิจที่ 5 ส่งเสริม พัฒนาและยกระดับศักยภาพครูและบุคลากรของวิทยาลัยฯ ให้มีสมรรถนะสูงขึ้น เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาสมรรถนะบุคลากรอาชีวศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสายอาชีพเกษตรกรรมให้มีศักยภาพ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขาวิชาชีพ ที่สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
- จำนวนครูที่ผ่านการอบรม/พัฒนา
- ร้อยละของครูที่ได้รับวุฒิบัตร หรือวุฒิการศึกษาต่อเนื่อง
- ความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนการสอน
แนวทางพัฒนา
- จัดอบรม/พัฒนาครูในด้านเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ เช่น Smart Farming, Precision Agriculture
- ส่งครูเข้าร่วมฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการหรือหน่วยงานวิชาชีพ
- สนับสนุนการเรียนต่อระดับสูงในสาขาวิชาชีพเกษตร
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสายอาชีพเกษตรกรรมให้มีศักยภาพวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม เทคโนโลยี และองค์ความรู้ด้านอาชีพเกษตร
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
- จำนวนผลงานวิจัย/สิ่งประดิษฐ์/นวัตกรรมของครู
- จำนวนครูที่ได้รับรางวัลหรือได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
- จำนวนกิจกรรมความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก
แนวทางพัฒนา
- จัดอบรมครูเรื่องกระบวนการวิจัย การพัฒนานวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์
- ส่งเสริมให้ครูพัฒนาโครงการวิจัยร่วมกับสถานประกอบการหรือชุมชน
- สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์
พันธกิจที่ 6 พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาสมรรถนะบุคลากรอาชีวศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาทักษะดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนของครูและบุคลากรทุกระดับ
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
- จำนวนครูที่ผ่านการอบรม
- จำนวนแผนการสอนที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
- ความพึงพอใจของผู้เรียน
แนวทางพัฒนา
- จัดอบรม/เวิร์กช็อปให้ครูเรื่องทักษะดิจิทัล เช่น การใช้ LMS, AR/VR, AI เพื่อการสอน
- พัฒนาแนวทางการสอนออนไลน์และแบบผสมผสาน (Blended Learning)
- สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) ด้านเทคโนโลยีการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอน การสร้างสื่อการสอนดิจิทัล ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับการเรียนรู้ และการบริหารจัดการด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัลโดยการฝึกอบรมและศึกษาต่อทั้งภายในและต่างประเทศ
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
- จำนวนสื่อดิจิทัลที่ผลิตได้
- จำนวนครูที่ศึกษาต่อ/เข้าอบรมภายใน/ต่างประเทศ
- ระบบบริหารจัดการภายในที่ใช้ดิจิทัล
แนวทางพัฒนา
- สนับสนุนการศึกษาต่อด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
- จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการสร้างสื่อดิจิทัล (E-learning, Animation, AR/VR)
- ใช้ระบบ MIS/ICT บริหารงานวิชาการและงานทั่วไป
พันธกิจที่ 7 ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ เทคโนโลยีใหม่ และงานวิจัย เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ โดยการมีส่วนร่วมของครู ผู้เรียน และชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา
กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาการนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ เทคโนโลยีใหม่ และงานวิจัย เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนสายอาชีพเกษตร โดยการมีส่วนร่วมของครู ผู้เรียน และชุมชน
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
- จำนวนโครงงานนวัตกรรมที่เกิดขึ้น
- จำนวนครู/นักเรียนที่เข้าร่วม
- ความพึงพอใจของชุมชน
แนวทางพัฒนา
- จัดกิจกรรมบ่มเพาะผู้เรียนให้คิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม
- สนับสนุนให้ครูและนักเรียนทำโครงงานร่วมกับชุมชน
- จัดประกวดนวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์ระดับสถานศึกษาและภายนอก
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาการนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ เทคโนโลยีใหม่ และงานวิจัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตและมูลค่าทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์จากการเรียนรู้ในห้องเรียน
ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
- จำนวนผลงานนวัตกรรมที่ต่อยอดเชิงพาณิชย์
- จำนวนนักเรียนที่ร่วมพัฒนาและนำเสนอผลงาน
- รายได้หรือมูลค่าจากการแปรรูป/ต่อยอดผลิตภัณฑ์
แนวทางพัฒนา
- ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากบทเรียนในห้องเรียน
- สนับสนุนการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ (ต้นแบบ/ต้นทุนต่ำ)
- เชื่อมโยงกับตลาด/หน่วยงานสนับสนุนการวิจัย เช่น สวทช., อว., อุตสาหกรรม
|
|